Open Government Data กับการปฎิรูปประเทศไทย

Open Government Data กับการปฎิรูปประเทศไทย

Open Government Data กับการปฎิรูปประเทศไทยกระแสการปฎิรูปประเทศไทยมีการพูดถึงกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มมีการชุมนุมของกปปส.จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารของคสช.และกำลังจะมีการตั้งสภาปฎิรูปขึ้น โดยตั้งเป้าหมายที่จะปฎิรูปไว้ 11 ด้าน ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะเน้นถึงปัญหาที่เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่นในบ้านเราที่เป็นรากฐานของปัญหาต่างๆ หลายๆคนมองว่าการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา ในแง่ของคนไอทีเรามองว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการทำงานจะมีส่วนช่วยในการสร้างธรรมภิบาลในการบริหารประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของ “Open Data” แต่เมื่อไปพิจารณาโครงสร้างการปฎิรูปที่วางแผนไว้ทั้ง 11 ด้านจะเห็นได้ว่าเราไม่มีการพูดถึงเรื่องไอทีเลยทั้งๆที่เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่สุดในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ jumbo jili UN E-Government Indexหากเราได้ศึกษาการสำรวจด้าน E-Government ขององค์การสหประชาชาติที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2001 จากรายงาน United Nation E-Government Survey ที่ออกมาทุกสองปี…
Digital Economy กับการปฎิรูปประเทศไทย

Digital Economy กับการปฎิรูปประเทศไทย

Digital Economy กับการปฎิรูปประเทศไทยช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมามีผู้ใหญ่บางท่านและเพื่อนในวงการไอทีถามถึงแนวคิดของผมในเรื่องของการปฎิรูปประเทศไทยว่าอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรโดยเฉพาะเรืองของไอที และยิ่งเมื่อต้นสัปดาห์นี้รัฐบาลโดยการแถลงของนายกรัฐมนตรีและรองนายกฯมรว.ปรีดิยาธร เทวกุล ออกมาจุดกระแสเรื่องของ Digital Economy ก็ทำให้กระแสการปฎิรูปด้านไอซีทีที่จะมีผลต่อการผลักดันการปฎิรูปเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีความร้อนแรงยิ่งขึ้นแม้ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าแผนงาน Digtal Economy จะมีอะไรบ้าง แต่ภาพที่เริ่มเห็นคือการปรับโครงสร้างกระทวงไอซีทีและเปลี่ยนชื่อให้เป็นกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล และก็มีภาพกราฟฟิกของนสพ. Post Today ที่ลงตีิพิมพ์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาระบุโครงการต่างๆดังรูป ยุทธศาสตร์ Digital Economy เป็นเรื่องทีดีมาก และถ้ารัฐบาลผลักดัันอย่างจริงจัง ไม่ใช่สร้างมาเป็น Propaganda เหมือนรัฐบาลยุคเลือกตั้งที่ผ่านๆมาซึ่งจะสรรหาคำสวยงามมาประกอบนโยบายเช่น Naional Broadband หรือ Smart Thailand…